
การเลือกคู่สำหรับพ่อและแม่พันธุ์ปลากัด
การเลือกคู่ปลาสำหรับการผสมพันธุ์ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเพาะพันธุ์ปลากัด วิธีเพาะปลากัด ผู้เลี้ยงต้องเลือกปลากัดที่มีสุขภาพดี แข็งแรง และโตเต็มวัย โดยทั่วไปแล้วปลากัดที่พร้อมผสมพันธุ์จะมีอายุในช่วง 4-6 เดือน ปลากัดที่จะนำมาผสมพันธุ์นั้นตัวผู้จะต้องมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย วิธีผสมพันธุ์ปลากัด คือควรเลือกปลากัดที่มีสายพันธุ์ต้นกำเนิดมาจากที่เดียวกัน หรือสายพันธุ์เดียวกัน เช่น ปลากัดจีน ก็ควรเป็นปลากัดจีนทั้งตัวผู้และตัวเมีย เนื่องจากผลผลิตที่ได้นั้นจะให้ลูกปลากัดที่มีลักษณะตรงตามพ่อแม่ปลามากที่สุด แต่หากในผู้ที่ต้องการผสมพันธุ์ปลาข้ามสายพันธุ์นั้นก็สามารถทำได้ หากต้องการความหลากหลาย หรือเพื่อผลลัพท์ในการให้ลูกปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ

การเตรียมพื้นที่หรือภาชนะสำหรับผสมพันธุ์
เริ่มต้นของ วิธีเพาะปลากัด คือ การเตรียมสภาพแวดล้อมของภาชนะสำหรับเพาะ พันธุ์ปลากัด ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ถังควรมีขนาดความจุอย่างน้อย 5 ถึง 20 ลิตร อาจใส่พืชน้ำหรือใบหูกวางเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ควรทดสอบวัดอุณหภูมิของน้ำไม่ให้ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ในช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาว มีโอกาสสูงที่จะผสมพันธุ์ไม่สำเร็จ วิธีแก้ปัญหาคือการติดตั้งเครื่องทำความร้อน (ฮีทเตอร์) เพิ่มเติมในการควบคุมอุณหภูมิ ผู้เลี้ยงบางท่านอาจใช้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ โดยการเทผงลงไปเพื่อผสมกับน้ำ ยาแก้อักเสบจะเป็นตัวช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ปรับสภาพของน้ำให้มีความสมดุลที่ดีขึ้น เพิ่มโอกาสรอดให้กับลูกปลา

การปรับสภาพของพ่อแม่ปลา
ในการเตรียม วิธีผสมพันธุ์ปลากัด พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ควรอยู่ในสภาพความพร้อมแบบสมบูรณ์ ก่อนลงผสมพันธุ์ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ควรบำรุงพ่อแม่ปลาด้วยอาหารสดที่มีโปรตีนสูง เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและมีความพร้อมสำหรับการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ควรนำปลาทั้งตัวผู้และเมียมาเทียบ โดยการเปิดให้ปลาสองตัวมองเห็นกันเพื่อความคุ้นชิน เมื่อนำไปผสมพันธุ์แล้วจะทำให้ปลาไม่ไล่กัดกัน เพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จที่มากยิ่งขึ้น ผู้เลี้ยงมือใหม่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่า ปลากัดจ้องตาแล้วท้อง ซึ่งไม่เป็นความจริง การผสมพันธุ์จะต้องอาศัยไข่จากตัวเมีย และน้ำเชื้อจากตัวผู้เพื่อให้ปลาฟักเป็นตัว



กระบวนการออกไข่
ปลาตัวผู้จะสร้างรังด้วยน้ำที่ผสมกับน้ำลายบนผิดน้ำ เรียกว่า หวอด เมื่อนำตัวผู้และเมียลงไปในภาชนะผสมพันธุ์แล้ว จะเกิดพฤติกรรมการไล่กัดกันเล็กน้อย อาการนี้เรียกว่า การเกี้ยวพาราสี ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการ เพาะพันธุ์ปลากัด เมื่อตัวเมียพร้อมวางไข่ ตัวผู้จะรัดตัวเมียให้ ไข่ปลากัด ออกจากหน้าท้อง ปลาทั้งสองตัวจะทำหน้าที่พ่อและแม่ โดยการเก็บไข่ไปใส่ในหวอด หลังจากนั้นปลาตัวผู้จะทำการปล่อยน้ำเชื้อเพื่อไปผสมพันธุ์กับไข่ กระบวนการผสมพันธุ์นี้อาจกินเวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
การดูแลไข่จนกว่าจะฟักเป็นตัว
หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการผสมพันธุ์ ลูกปลากัด ทั้งหมดจะฟักเป็นตัวหลังจากผ่านไปสองวัน พ่อปลาจะทำหน้าที่อนุบาลลูกปลาจนกว่าจะโต ในขั้นตอนนี้เราสามารถตักปลาตัวเมียออกได้เลย โดยทั่วไปแล้วลูกปลาจะมีถุงไข่ติดตัวมา ผู้เลี้ยงสามารถเริ่มให้อาหารได้หลังจากวันที่สามเป็นต้นไป โดยอาหารที่ให้นั้นอาจะเป็นไข่แดงบด หรือไรแดง หากให้อาหารด้วยไข่แดง ควรระวังเรื่องการให้ที่มากจนเกินไปจนน้ำเน่าเสียได้ หากให้อาหารด้วยไรแดง ไรแดงที่ให้จะแตกตัวออกมา ลูกปลาสามารถกินลูกของไรไดแดงเพื่อมีชีวิตและเจริญเติบโตต่อไปได้

การรักษาคุณภาพน้ำปลากัดแรกเกิด
ในระยะแรกลูกปลายังไม่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงโดยกะทันหัน ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำในช่วงแรกยังคงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ผู้เลี้ยงสามารถค่อยๆเติมน้ำสะอาดลงไปได้หากปริมาณน้ำนั้นลดลง เมื่อลูกปลาโตขึ้นและแข็งแรงพอ เราสามารถเปลี่ยนน้ำในบ่อเลี้ยงได้แบบ 100 เปอร์เซ็น หมั่นสังเกตคุณภาพน้ำและโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ในครอกของปลาที่ได้ผลผลิตที่มาก ผู้เลี้ยงสามารถแบ่งปลาในครอกเดียวกันออกไปเลี้ยงเพื่อลดปัญหาการแออัด น้ำเน่าเสีย หรือเพื่อเพิ่มโอกาสในการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น การทำตามขั้นตอนเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่เพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จของ วิธีเพาะปลากัด เทคนิคอื่นๆเพิ่มเติมนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้เลี้ยงโดยตรง