Cover-thefightingfish
ประวัติปลากัด

ปลากัด กับประวัติความเป็นมา (The history of Siamese Fighting Fish)

ปลากัด เดิมทีเป็นปลาท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เรียกได้ว่าอยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างช้านาน ปลากัดไทย รู้จักกันในชื่อของ “Siamese Fighting Fish” หรือเรียกกันในวงการผู้เลี้ยงปลากัดว่า betta เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ “Osphronemidae” กลุ่มเดียวกับปลากระดี่ พบได้ทั่วไปในหลายประเทศของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น หนองน้ำ นาข้าว ลำธารที่ไหลเอื่อย หรือแม้แต่ตามแหล่งน้ำขัง ในอดีตมักเลี้ยงไว้เพื่อการพนัน เรียกว่า “พนันปลากัด” จากรูปด้านบน แสดงให้เห็นถึง “การกัดปลา และวิถีชีวิตของคนในสมัยก่อน”

การปรับตัวของปลากัดเพื่อความอยู่รอด (The survival of Wild Betta)

ปลากัดเป็นปลาที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาวะแวดล้อม อาศัยอยู่ได้ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ ใช้การหายใจจากการขึ้นไปฮุบอากาศบนผิวน้ำ จึงทำให้มีชีวิตรอดได้แม้ค่าออกซิเจนของน้ำจะเป็น 0 ถึงแม้ว่าชื่อของปลาชนิดนี้จะเรียกว่าปลากัด แต่ในความเป็นจริงแล้วปลาเพศเมียมักจะมีนิสัยไม่ค่อยดุร้ายและหวงถิ่นเท่าเพศผู้ ดังนั้นการกัดกันของปลาชนิดนี้มักจะพบได้ส่วนใหญ่ในปลาเพศผู้เท่านั้น

แหล่งที่อยู่ปลากัด

ปลากัดสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีมูลค่า (Thai Betta Livestock)

ถึงแม้ว่าในอดีตผู้คนมักนิยมเลี้ยง ปลากัดป่า ไว้เพื่อเกมกีฬา เรียกว่า “การกัดปลา” ซึ่งมักจะมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ด้วยสีสันบนตัวปลาที่มีความสะดุดตา โดดเด่น สวยงาม จึงทำให้ในปัจจุบันปลากัดถูกเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามเสียมากกว่า นอกจากนี้ปลากัดยังได้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจในเชิงพาณิชย์ของไทย โดยมีการส่งออกสูงสุดไปยัง 5 ประเทศหลัก ประกอบไปด้วย สหรัฐอเมริกา จีน  สิงคโปร์ อิหร่าน และไต้หวัน ซึ่งทำให้มีมูลค่าการส่งออกสูงกว่า 100 ล้านบาทในแต่ละปี

รูปปลากัด 8 สายพันธุ์ ที่นิยมในต่างประเทศ

ปลากัดหางเดี่ยว, PK

pk

ปลากัดจีน, หางพู่กัน

ปลากัดฮาฟมูน, หางพระจันทร์

half-moon

ปลากัดโรสเทล, หางกุหลาบ

rose-tail

ปลากัดคราวเทล, หางมงกุฏ

crown-tail

ปลากัดดับเบิ้ลเทล, สองหาง

double-tail

ปลากัดหูช้าง

dumbo-ear

ปลากัดยักษ์, GIANT

giant betta

ปลากัดไทย “สัตว์น้ำประจำชาติ” มรดกที่ตกทอดจากธรรมชาติ (Thai Aquctic Icon)

ปลาชนิดนี้ยังได้ถูกส่งเสริมจากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติให้ถูกบรรจุเป็น “สัตว์น้ำประจำชาติไทย” โดยคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในข้อบังคับนี้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อส่งเสริมทั้งในด้านการอนุรักษ์ การเพาะพันธุ์ และการส่งออกในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมติที่เห็นชอบนี้ส่งผลดีให้เกิดการจัดแข่งขันประกวดความสวยงามของปลากัด และมีการต่อยอดเพื่อพัฒนาให้เกิดสายพันธ์ุใหม่ๆมากยิ่งขึ้น

เหตุผลสำคัญ 3 ประการที่ปลากัดได้รับเลือกให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติไทย

  • เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญด้านวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ โดยได้มีหลักฐานบันทึกไว้ว่าว่าปลากัดเป็นสัตว์ที่มีความผูกพันกับคนไทยมาอย่างช้านาน
  • เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ที่มีเอกลักษณ์ และโดดเด่นเหมือนกันปลากัด
  • เพื่อส่งเสริมการเลี้ยง และเพิ่มมูลค่าในการส่งออกปลากัดในระดับนานาชาติ
ปลากัดลายธงชาติ
ปลากัดลายธงชาติ

การจำแนกเพศของ ปลากัด (Gender Differences)

โดยทั่วไปแล้วปลากัดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเมื่อเทียบในปลาที่มีอายุเท่ากัน ตัวผู้จะโตเต็มที่ได้ถึง 2.5-3.0 นิ้ว หรือ 6-8 เซนติเมตร ซึ่งตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่า โตเต็มที่ประมาณ 2-2.25 นิ้ว หรือ 5-6 เซนติเมตร นอกจากนี้ปลาตัวผู้จะมีลำตัวที่เพรียว และยาวกว่า ส่วนตัวเมียนั้นจะมีรูปร่างที่กลม และสันทัด

ครีบปลา คือ จุดแตกต่างที่สังเกตุได้ง่ายที่สุดในการแยกเพศปลากัด ปลากัดตัวผู้จะมีกระโดง หาง และชายน้ำที่ยาวพริ้วไหว อาจมีลวดลาย และสีที่สดกว่าปลาเพศเมีย

ปลากัดเพศผู้นั้นปกติจะมีสีสันที่เข้ม สดใส และสวยงามกว่าตัวเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวกับตัวผู้ตัวอื่น หรือเมื่อเกี้ยวพาราสีปลาตัวเมีย

พฤติกรรมของปลาตัวผู้ และตัวเมียนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ปลาตัวผู้จะมีความก้าวร้าว และหวงอาณาเขตเป็นอย่างมาก จึงทำให้ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาตัวอื่น หรือชนิดอื่นๆได้ ผิดกับปลาตัวเมียที่ต้องการอาณาเขตเช่นกัน แต่จะไม่ก้าวร้าวเท่ากับปลาตัวผู้ จึงทำให้บางครั้งสามารถเลี้ยงรวมกันได้

การก่อหวอดบนผิวน้ำ เกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำลายของปลาเพศผู้ และฟองอากาศของน้ำ ทั้งนี้เพื่อใช้เก็บไข่ในระหว่างกระบวบการผสมพันธุ์ โดยทั่วไปมักจะพบได้ในปลาเพศผู้เท่านั้น

ปลากัดตัวผู้

ปลากัดตัวผู้

ปลากัดตัวเมีย

ปลากัดตัวเมีย

วิธีเลี้ยงปลากัด (Ways to take care of Fighting Fish)

ภาชนะสำหรับเลี้ยง (Habitat)

โหลปลากัด

ขวดโหล

เหลี่ยมปลากัด

เหลี่ยมกระจก

ตู้ปลาเล็ก

ตู้ปลาขนาดเล็ก

ถังพลาสติก

อาหารปลากัด (Feeding)

ไรแดง

ไรแดง

ไรทะเล อาร์ทีเมีย

ไรทะเล หรือ อาร์ทีเมีย

ลูกน้ำ

ลูกน้ำ

อาหารเม็ดสำเร็จรูป

อาหารเม็ดสำเร็จรูป

น้ำสำหรับเลี้ยง ปลากัด (Water Quality)

ถึงแม้ว่าปลากัดในธรรมชาตินั้น จะสามารถอาศัยอยู่ได้ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพต่ำ แต่การเลือกใช้น้ำที่เหมาะสมสำหรับปลากัดสวยงาม คือสิ่งที่ผู้เลี้ยงไม่ควรมองข้าม น้ำที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงปลากัด แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • น้ำประปา พักไว้จนคลอรีนระเหยจนหมด โดยปกติจะใช้เวลา 2-3 วัน หากน้ำที่ยังมีคลอรีนเจือปนอยู่ จะทำให้ปลาขับเมือกออกมาเยอะจนเกินไป และป่วยตายในที่สุด
  • น้ำบาดาล เหมาะสำหรับการนำมาเลี้ยงปลากัดมากที่สุด เพราะปราศจากคลอรีน อีกทั้งยังมีแร่ธาตุจากในดิน ใกล้เคียงกับน้ำในแหล่งธรรมชาติมากที่สุด
social media management sosyal medya yönetimi most famous advertising agency en ünlü reklam ajansı logo designs logo tasarımı mobile application prices mobil uygulama fiyatları professional web design profesyonel web tasarım seo agencies seo ajansları kurumsal tanıtım filmi yazılım ajansı software agency